ManagementinAction
ที่ผ่านมาผู้เขียนได้กล่าวถึงเครื่องมือที่น่าสนใจเครื่องมือหนึ่งเพื่อมาใช้ในการสำรวจและมองเห็นเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์และปัจจัยที่คาดไม่ถึง (Unexpected) และมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ในรูปแบบต่างๆ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Scenario Planning กันไปแล้ว (EP12: Scenario Planning กับการวางแผนเชิงกลยุทธ์) เมื่อเราทราบสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการคือการเชื่อมโยง Scenario ที่ประเมินไว้ไปสู่การจัดทำกลยุทธ์
จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาอย่าง Bain & Company พบว่าในช่วงวิกฤติ มีบริษัทประมาณ 22% ที่ฉวยชิงโอกาสทางธุรกิจในช่วงดังกล่าวจะสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไป บริษัทเหล่านั้นได้ใช้โอกาสในช่วงวิกฤติในการทดลอง เรียนรู้ และประเมินสิ่งที่ลูกค้าต้องการ สร้างนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้น รวมถึงใช้โอกาสในการปรับปรุงองค์กรในด้านรูปแบบการปฏิบัติงานและต้นทุนขององค์กร
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญคือการกำหนดทิศทางและจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องดำเนินการ ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องดำเนินการในระยะสั้นโดยเร่งด่วนหรือสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในระยะยาวเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยมองหาโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้น (Business Opportunities) จากสถานการณ์ หรือสิ่งที่ต้องดำเนินการหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความท้าทาย (Business Challenges) ในรูปแบบต่างๆ ของ Scenario ที่อาจจะเกิดขึ้น
การนำ Scenario Planning มาใช้กับการกำหนดกลยุทธ์สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ และการประเมินกลยุทธ์ที่มีอยู่ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน จุดที่สำคัญคือการประเมินว่าได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับกับเหตุการณ์ในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ หากไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม นั่นคือ Gap ที่องค์กรต้องพิจารณาว่าจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์เพิ่มเติมหรือปรับปรุงกลยุทธ์ที่มีอยู่เพื่อปิด Gap ดังกล่าวได้อย่างไร ซึ่งบทความ Scenario Planning: An Innovative Approach to Strategy Development ของ https://thinkingfutures.net/ ได้นำเสนอคำถามที่สำคัญ 3 คำถามเพื่อเชื่อมโยง Scenario Planning ไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ ดังนี้
จากคำถามดังกล่าวสิ่งที่สำคัญคือการมองเหตุการณ์ Scenario ที่อาจจะเกิดขึ้น ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อองค์กร เช่น
– พฤติกรรมหรือความต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไป
– คู่แข่งขันหรือคู่ค้าทางธุรกิจ
– Supply Chain และ Operation ขององค์กร
– ผลทางด้านการเงิน เช่น รายได้ หรือต้นทุนของธุรกิจ เป็นต้น
การเตรียมพร้อมในปัจจุบันหรืออาจจะเรียกได้ว่า Today-forward approach คือการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานในปัจจุบันให้พัฒนาหรือดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤติ สิ่งที่สำคัญคือการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นกลุ่มสินค้าหรือธุรกิจที่มีศักยภาพที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
การเตรียมการเพื่ออนาคต หรือที่เรียกว่า Future-back approach คือการมองภาพในอนาคตและเชื่อมโยงมาสู่การเตรียมการแบบเป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่ภาพในอนาคตแบบที่ต้องการ เช่น อีก 5 หรือ 10 ปี ข้างหน้าเราอยากเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไร อะไรคือขั้นตอนที่ต้องทำหรือหลีกเลี่ยงเพื่อนำไปสู่ภาพที่ต้องการนั้นๆ
ณ ปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ องค์กรก้าวผ่านช่วงที่วิกฤติสูงสุดไปบ้างแล้ว สิ่งสำคัญคือการสร้างความรู้สึกของการเปลี่ยนแปลง ก้าวต่อไปในอนาคตโดยปรับเปลี่ยนวิธีการคิดจากการยึดติดอยู่กับปัจจุบันแล้วค่อยๆ คิด Step ต่อไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Point of view) ของคนในองค์กรถึงภาพในอนาคตที่เราอยากให้เป็นร่วมกัน และร่วมกันกำหนดขั้นตอนที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
นารถ จันทวงศ์
14 สิงหาคม 2563
083 300 3030
nart.chantawong@gmail.com, service@managementinaction.info
https://www.facebook.com/ManagementinAction
www.managementinaction.info
Reference
– Why Return to “Normal” When You Can Recover to a Winning Position?, Bain & Company inc, https://www.bain.com/insights/why-return-to-normal-when-you-can-recover-to-a-winning-position/
– Scenario Planning: An Innovative Approach to Strategy Development, Thinkingfuture.net, https://www.researchgate.net/publication/242707360_Scenario_Planning_An_Innovative_Approach_to_Strategy_Development
– “Future-Back” Your Business: Professional Services Firms Meet Strategy, AXIOM consulting, https://www.axiomcp.com/idea/firms-meet-strategy-innovation/