จากบทความตอนที่ผ่านมา เราได้กล่าวแนวทางการเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ CoVID-19 จากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำในระดับโลกกันไปแล้ว วันนี้เราได้ประสบการณ์จริงจากผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทข้ามชาติชั้นนำ คุณแอร์เป็นหนึ่งในคนไทยที่มีโอกาสก้าวไปดำรงตำแหน่งที่สำคัญของบริษัทชั้นนำในระดับโลก มาลองดูครับว่าจากประสบการณ์จริง บริษัทชั้นนำในระดับโลกมีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างไร และเรื่องใดที่บริษัทควรให้ความสำคัญ

ขออนุญาตแชร์ความคิดและไอเดียให้กับธุรกิจองค์กรและเพื่อนๆที่ประเทศไทยนะคะ แอร์มองว่าเหตุการณ์โควิทครั้งนี้เป็นการ push ให้ทุกคน go out from comfort zone แบบทั้งระบบทั่วโลก และจะเป็นการพลิก consumer behavior และ human behavior ครั้งใหญ่ อยากให้เราเปลี่ยนคำถามจาก เมื่อไหร่เหตุการณ์จะจบและกลับมาเหมือนเดิม มาเป็น “เราจะเตรียมพร้อมอย่างไรสำหรับ New Normal ของโลกเรา”


1) สถานการณ์ตอนนี้ธุรกิจจะอยู่ได้ วัดกันที่กระแสเงินสดจริงๆ
การมีและการสร้างสายป่านให้ยาวสำคัญมากๆ ดังนั้น งานหลักตอนนี้คือองค์กรจะปรับปรุงกระแสเงินสดอย่างไร

สิ่งที่ได้เรียนรู้เดือนที่แล้วคือ หลังจากประเทศจีนกลับมาทำงานหลัง lock down เราพบว่าบริษัทขนาดเล็กและกลางที่เคยเป็นคู่แข่งรายย่อย ไม่สามารถผ่านวิกฤตนี้ได้ด้วยสองสาเหตุคือ ไม่มีเงินสดหรือไม่มีคนกลับมาทำงาน supply chain จึงล้มไม่ฟื้น ในภาวะปกติการทำธุรกิจยอดขายทำให้ผลกำไรดีและรวดเร็วกว่าการลดต้นทุน แต่ด้วยสถานการณ์นี้ผู้บริหารจะหาทางลดต้นทุนที่ “ไม่ใช่การลดคนอย่างไร” นำให้คนในองค์กรร่วมมือร่วมใจกันมาช่วยกันลดต้นทุน การลดคนไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไปเพราะจะช่วยในระยะสั้น และหากธุรกิจกลับมาบริษัทที่ ramp up ได้เร็วจะได้เปรียบ


2) Technology & Innovation Driven
กลับมาทำงานที่อเมริกาครั้งนี้ได้รับมอบหมายให้มานำองค์กรปฏิรูป Systems Engineering, Systems Thinking ทั่วโลก เปลี่ยนวัฒนธรรมวิธีการทำงานแบบเดิม นำคนทั้งองค์กรให้เปิดใจกับการทำงานวิธีใหม่ๆ Digital Transformation และ Virtual Approach ในทุกกระบวนการทำงาน ได้ใช้ประสบการณ์จากการทำงานมาทั้งสองฝั่ง คือด้าน Technology & Innovation และงานล่าสุดที่เมืองไทยก่อนย้ายมาอเมริกาคือ Business & Organization Transformation

ด้วยเหตุการณ์นี้ Technology ต่างๆที่เคยใช้เวลานานในการ implement ตอนนี้เนื่องจากสถานการณ์บังคับ ทำให้ adoption เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมมากๆ แต่ตอนนี้ไม่แนะนำให้ไปลงทุนทำด้านนี้หากไม่ได้เริ่ม Infrastructure ไว้นะคะ ไอเดียที่อยากเสนอและนำไปประยุกต์ได้คือ
หา Online Data Science มาวิเคราะห์ต้นทุนและขั้นตอนการทำงานของบริษัท ให้โอกาสเด็กๆมหาวิทยาลัยที่อยู่บ้านมาร่วมงาน
– ผู้บริหารต้องเริ่มมองหาว่าวิธีการทำงานแบบใหม่ remote/online ที่ก่อให้เกิดผลงานเหมือนกันในต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธีการแบบเก่ามากมีอะไรบ้าง และกล้าตัดสินใจ ปรับ policy ปรับนโยบายอย่างรวดเร็ว ให้เป็นวิธีการทำงานแบบ new normal และ new standard สำหรับองค์กรนะคะ


3) ภาวะแบบนี้ ผู้นำองค์กรต้อง communicate และ communicate ด้วยความจริงใจ โปร่งใส
ความกังวลทำให้เกิดความเครียด ความเครียดทำให้เกิดความกลัว (และทั้งหมดอาจจะไม่ใช่ความจริง) เราไม่สามารถแก้ทุกปัญหาได้และเราไม่สามารถตอบทุกคำถามได้ แต่ผู้นำต้องทำให้คนไว้วางใจและอุ่นใจ บอกทุกคนว่าเราจะตอบเมื่อมีคำตอบ และที่สำคัญการตอบคำถามแบบไม่ตอบคำถามยิ่งทำให้สถานการณ์แย่กว่าความเป็นจริง ภาวะผู้นำทั้งระดับประเทศ องค์กรและแม้แต่ครอบครัวจึงสำคัญมากๆนะคะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ หากเราตั้งสติ มองทุกอย่างตามความเป็นจริง มี Growth Mindset และความสุขในการเปลี่ยนแปลง รักที่จะเปลี่ยนแปลง ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ดูแลคนข้างๆและดูแลซึ่งกันและกัน เราจะผ่านไปด้วยกันและจะเป็นการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งไปด้วยกันค่ะ รักและคิดถึงทุกๆคนที่เมืองไทยและปรารถนาดีเสมอค่ะ 💗💗💗


เกี่ยวกับผู้เขียน

แอร์ จุฑาภัทร บุณย์วงศกร
Jutapat Boonvongsakorn

– ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง Global Systems Engineering and Digital Transformation Leader บริษัท Procter & Gamble USA
– ประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในการทำงานด้าน Corporate Transformation
– คนไทยและคนเอเชียคนแรกที่ได้รับตำแหน่ง Managing Director ที่ P&G Manufacturing (Thailand)
– มีประสบการณ์ทำงานทั้งใน USA, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และประเทศไทย
– เคยทำหน้าที่บริหาร P&G supply chain & factories หนึ่งในสาขาที่มีความซับซ้อนสูงที่สุดของ P&G ที่กระจายสินค้าไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
– Certified Advanced Project Management CMO
– Certified Advanced Innovation Management

Leave a Reply